วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันแม่

วันแม่

            ความเป็นมาวันแม่แห่งชาติ
      งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ


                                                 ภาพวันแม่

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของมาเลเชีย

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของมาเลเชีย


การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556


ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน
พรรครัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ (BN) ที่ครอบงำโดยพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ได้รับเสียงข้างมาก แม้พรรคปากาตัน รักเกียตที่ตั้งโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรค จะได้รับเสียงจากประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะที่นั่งมิได้จัดสรรตามสัดส่วน แต่ในระดับเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post system) อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านมีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่พรรครัฐบาลเสียที่นั่งเล็กน้อย

 

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556
ธงชาติของมาเลเซีย
2551 ←5 พฤษภาคม 2556[1]

ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)

ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง84.84%
 พรรคที่หนึ่งพรรคที่สอง
 Dato Sri Mohd Najib Tun Razak.JPG
ผู้นำนาจิบ ราซะก์อันวาร์ อิบราฮิม
พรรคพรรคแนวร่วมแห่งชาติพรรคปากาตัน รักเกียต
ผู้นำตั้งแต่3 เมษายน 255228 สิงหาคม 2551
ที่นั่งผู้นำปกันเปอร์มาตังปาอูห์
ผลครั้งที่แล้ว140 ที่นั่ง, 50.27%82 ที่นั่ง, 46.75%
ที่นั่งที่ได้13389
เปลี่ยนแปลง 7 7
คะแนนเสียง5,237,6995,623,984
ร้อยละ47.38%50.87%
Swing 2.89%4.12%

นายกรัฐมนตรี
ก่อนการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้ง

เขาพระวิหาร

เขาพระวิหาร

บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

           ...คน ไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

              ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

           แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

           เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

           และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้ 

    ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก


           ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

           ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

             ประการแรก การ ยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

             ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

             ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

           ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

           อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

           ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับแรกทำ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

             ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

             ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

           ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น 


 ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

           คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

           ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

             ประการแรก แผนที่ นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่ 

   บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

           หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  http://hilight.kapook.com/view/20151

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ ฉบับ 1-18


ฉบับที่ 1  พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475


มีจำนวน 39 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน
ที่มา : คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

มีจำนวน 68 มาตรา 
ระยะเวลาที่บังคับใช้ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน
ที่มา : ของรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนตั้งคณะกรรมการยกร่าง จำนวน 9 คน
 แล้วให้ สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

มีจำนวน 96 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 5 เดือน 30 วัน
ที่มา : ส.ส.ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภาอนุมัติ ( ยุคนี้ ส.ส. มี 2 ประเภท )

ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว ) พุทธศักราช 2490 (ฉบับใต้ตุ่ม )

มีจำนวน 98 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
ที่มา : คณะรัฐประหาร นำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ ( บิดา พล.อ ชาติชาย ชุณหวัณ )
มี หลวง กาจ เก่งระดมยิง เป็นผู้ร่าง แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ จึงเป็นที่มา ฉบับใต้ตุ่ม 

ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

มีจำนวน 188 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี 8 เดือน 6 วัน
ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 คนยกร่างจัดทำแล้วให้สภาอนุมัติ (สสร.1 )

ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 
แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

มีจำนวน  123 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
ที่มา :  จอมพล ป. นายกฯ เสนอร่าง ให้สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 7ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

มีจำนวน 20 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 23 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

มีจำนวน 183 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน
ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 240 คน ยกร่าง และอนุมัติ ( สสร. 2 )

ฉบับที่ 9:ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

มีจำนวน 23 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 9 เดือน 22 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร

ฉบับที่ 10 :  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

มีจำนวน 238 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี
ที่มา :  คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 24 คน 
( จากสมัชาแห่งชาติ ) ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี และสภา

ฉบับที่ 11 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

มีจำนวน  29 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 28 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้

ฉบับที่ 12 :  ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

มีจำนวน  32 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 1 เดือน 13 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารซ้ำอีกรอบ

ฉบับที่ 13 :รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

มีจำนวน 206 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 12 ปี 2 เดือน 1วัน
ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) ตั้งคณะกรรมการยกร่าง และอนุมัติ

ฉบับที่ 14 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

มีจำนวน  33  มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  8 เดือน 8 วัน 
ที่มา : คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช.) นำโดย พล.อ สุนทร คงสมพงษ์

ฉบับที่ 15 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

มีจำนวน  223 มาตรา 
ระยะเวลาบังคับใช้  5 ปี 10 เดือน 2 วัน
ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ที่ตั้งโดย รสช.)

ฉบับที่ 16 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

มีจำนวน 336 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  8 ปี 10 เดือน 9 วัน
ที่มา :  รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 15 โดยแก้ไข มาตรา 211 
ให้มี สสร.จำนวน 99 คน ยกร่างและให้สภาอนุมัติ ในสมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา 
เป็นนายกฯ (สสร.3 )

ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ( ชั่วคราว )
พุทธศักราช 2549

มีจำนวน 39 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 5 วัน ( บังคับใช้เมื่อ 19 ก.ย 2549 - 24 ส.ค.2550 )
ที่มา :  คณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ( คมช.)


ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

มีจำนวน 309 มาตรา
บังคับใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 ถึง ปัจจุบัน.......
ที่มา สสร.จากการแต่งตั้งของ คมช. จำนวน 100 คน ยกร่าง  และให้สภาอนุมัติ 
และให้ประชาชน ลงประชามติ (สสร.4 )

ผลการเลือตั้ง

 ผลเลือกตั้ง 2557 เกาะติดผลเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ทั่วประเทศ  ล่าสุดปิดหีบแล้ว โดย กกต. แถลงว่า ยังไม่นับผลคะแนน จนกว่าจะจัดเลือกตั้งล่วงหน้าใหม่

          วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งปิดหีบเลือกตั้ง เมื่อเวลา 15.00 น. หลายฝ่ายต่างก็ลุ้นกันว่า ผลการเลือกตั้ง 2557 ทั่วประเทศ จะออกมาเป็นอย่างไร เนื่องจากก่อนหน้านี้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเปิดหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วย ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ และบางกลุ่มที่คัดค้านการเลือกตั้งก็ยืนยันที่จะโนโหวต ขอไม่ใช้สิทธิ์ใช้เสียงในครั้งนี้ 

          สำหรับผลการเลือกตั้ง 2557 ทั้งนี้ล่าสุด ทาง กกต. ได้ออกมาแถลงว่า ยังไม่ประกาศผลนับคะแนนรอจัดเลือกตั้งล่วงหน้าใหม่ วันนี้ทีมงานจึงขอรายงานผลคะแนนบางส่วนอย่างไม่เป็นทางการ และจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มาให้อ่านกัน ตามไปดูกันเลยค่ะ
           รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบ่งเขต (อย่างไม่เป็นทางการ)

ผลการเลือกตั้ง 2557 กรุงเทพมหานคร
          ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) เปิดเผยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ 2 กุมภาพันธ์ ว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,143,667 คน จากผู้มีสิทธิทั้งหมด 4,369,120 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.18 ส่วนผู้ที่ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีมากถึง 3,225,453 คน คิดเป็นร้อยละ 73.82 

          ทั้งนี้สำนักงานเขตที่ไม่มีปัญหาในการใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 35 เขต และมีสำนักเขตที่ไม่สามารถเปิดหน่วยเลือกตั้งได้ทั้งเขตรวม 3 เขต คือ หลักสี่ ดินแดง และราชเทวี ส่วนอีก 12 เขต ปิดหน่วยเลือกตั้งบางแห่ง ได้แก่ ปทุมวัน บางรัก วัฒนา พญาไท ห้วยขวาง บางเขน บึงกุ่ม สวนหลวง จอมทอง บางขุนเทียน บางกะปิ และบางแค

          - ผลการเลือกตั้งหน่วย 4 เขตห้วยขวาง ผู้มีสิทธิ 1,063 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 229 คน โดยพรรคเพื่อไทยคะแนนนำอันดับ 1

          - ผลไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 12 แขวงบางแวก ภาษีเจริญ คะแนนแบบบัญชีรายชื่ออันดับ 1 คือเพื่อไทย 124 คะแนน โหวต VoteNo 42 คะแนน

          ส่วนผลการเลือกตั้งอื่น ๆ ทีมงานจะทยอยอัพเดทให้ทราบอีกครั้งค่ะ
          ผลการเลือกตั้ง 2557 พะเยา

          หน่วยเลือกตั้ง ม.พะเยา มีนิสิตมาเลือกตั้ง 9,920 คน คิดเป็นร้อยละ 63.95%

ผลการเลือกตั้ง 2557 แพร่ 

          หน่วยเลือกตั้งที่บ้านแม่พุงหลวง อ.วังชิ้น จ.แพร่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 500 คน ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 90 กว่าคน  VoteNO 60 คน โดยพรรคเพื่อไทยได้ 15 คะแนน ที่เหลือบัตรเสีย

ผลการเลือกตั้ง 2557 เชียงใหม่ 

          -  จ.เชียงใหม่ ประเมินไม่เป็นทางการหลังปิดหีบ มีผู้มาใช้สิทธิเกิน 65% ทุกเขต (สถิติเลือกตั้งปี 54 คือ 83.13%)

          - หน่วยเลือกตั้งใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เขต 2 ผู้มีสิทธิ 65,424 คน ใช้สิทธิ 46,877คน คิดเป็น 71.65%

          - ผลเลือกตั้งจากบ้านแม่ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 798 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 366 คิดเป็นร้อยละ 45.86

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการเลือกตั้ง 2557 ขอนแก่น 
          เขตเลือกตั้งที่ 75 ชุมชนทุ่งเศรษฐี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 789 คน ใช้สิทธิเลือกตั้ง 270 คน โหวต #VoteNO 99
ผลการเลือกตั้ง 2557 นครราชสีมา
                ผลการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.นครราชสีมา อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า  พรรคเพื่อไทย ได้ 10 คน, พรรคชาติพัฒนา 4 คน และพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 1 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 7 : นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 8 : นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 9 : นายพลพีร์ สุวรรณฉวี พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 10 : นายกฤษฎิ์หิรัญ หวังศุภกิจโกศล พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 11 : นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล พรรคชาติไทยพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 12 : นายสมศักดิ์ พันธุ์เกษม พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 13 : นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 14 : นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 15 : นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคเพื่อไทย

 ภาคกลาง
ผลการเลือกตั้ง 2557 ปทุมธานี  
           สรุปผลคะแนนเลือกปทุมธานีอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย กวาดเก้าอี้แบบยกจังหวัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายศุภชัย นพขำ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ พรรคเพื่อไทย

ผลการเลือกตั้ง 2557 ปราจีนบุรี
          นายเจด็จ มุกสิกวงศ์ ประธาน กกต. ปราจีนบุรี เผย ผลการนับคะแนนที่จากทั้ง 3 เขตการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นส่วนใหญ่

          ขณะที่ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ร.ร.เจียหมิน อ.กบินทร์บุรี ของเขต 3 ปราจีนบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 525 คน มาใช้สิทธิ 118 คน #VoteNO 40 คน ผลคะแนนหน่วยที่ 1 คงกช หงษ์วิไล จากพรรคเพื่อไทย ได้ 50 คะแนน ส่วนเพชรรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย ได้ 15 คะแนน

ผลการเลือกตั้ง 2557 พระนครศรีอยุธยา

          จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเขตเลือกตั้ง 5 เขต มีหน่วยเลือกตั้ง 956 หน่วย สรุปผู้มาใช้สิทธิ รวม 317,398 คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ50.52 แบ่งเป็นเขตดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : มีผู้มีสิทธิ 104,504 คน มาใช้สิทธิ 41,178 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : ผู้มีสิทธิ 124,849 คน มาใช้สิทธิ 70,170 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : ผู้มีสิทธิ 112,849 คน มาใช้สิทธิ 56,079 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : ผู้ใช้สิทธิ 104,730 คน มาใช้สิทธิ 80,463 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : ผู้มีสิทธิ 127,751 คน มาใช้สิทธิ 68,500 คน

ผลการเลือกตั้ง 2557 อ่างทอง  
              พรรคชาติไทยพัฒนา กวาดเก้าอี้ ส.ส.อ่างทอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา

ผลการเลือกตั้ง 2557 ราชบุรี
          หน่วยเลือกตั้งที่ 2 ปะรำศาลเจ้าพ่อปู่สงวน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี นับคะแนนเสร็จ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 331 คน จาก 888 คน ผลคะแนนปรากฏว่าผู้สมัครเพื่อไทย ได้ 109 คะแนน พรรคภูมิใจไทย นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา ได้ 39 คะแนน โดยบัตรเสีย 62 และโหวต VoteNO 121

ภาคใต้

ผลการเลือกตั้ง 2557 นราธิวาส 
          ผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส ไม่ประสงค์ลงคะแนน 59 คน บัตรเสีย 25 ใบ รวมผู้มาใช้สิทธิ 268 คน โดยผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 อันดับ 1 นายแวมาหาดี แวดาโอ๊ะ พรรคภูมิใจไทย ได้ 97 คะแนน  อันดับ 2 นายวัชระ ยาวอฮาซัน พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 82 คะแนน

ผลการเลือกตั้ง 2557 ปัตตานี 
          หน่วยเลือกตั้งที่ 16 รูสะมิเเล จ.ปัตตานี นับคะเเนนเสร็จสิ้นเเล้ว มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 91 คน จาก 863 คน ผลการนับคะแนน นายมุขสุไลมาน จากพรรคเพื่อไทย ได้ 21 คะเเนน โหวต #VoteNO 53 และมีบัตรเสีย 11

ผลการเลือกตั้ง 2557 กระบี่

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ชุมพร

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ตรัง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 พังงา

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 พัทลุง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ภูเก็ต

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ระนอง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 สงขลา

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 สุราษฎร์ธานี

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้